Friday 7 March 2014

Open information and intelligence only that it is your benefit feed back ...not their benefit that they need to access...


Open information and intelligence only that it is your benefit feed back ...not their benefit that they need to access...


Woman right always ignoreก...เนื่องจากวันสตรี เขาเลยลุกมาดูแลสตรีกันใหญ่ ที่จริงเขาให้สตรีดูแลตัวเอง โดยเหล่าหนุ่มๆต้องรับผิดชอบงานหนัก งานเครียด งานที่หาเงินได้มากกว่า เพื่อที่สตรีในบ้านจะได้ มีความสุขกับงานเบาๆ อย่างงาน ซื้อของ จ่ายกับข้าว เลี้ยงลูก แบบนี้ นอกจากว่า รับกับภาวะไม่อาจเข้าถึงทรัพยากรที่เหมาะสม ถ้าต้องพัฒนาลูกหลานในแบบสากลเพื่อเพิ่มพูนความสามารพรสวรรค์ทั้งทางสายวิทย์สายศิลป์ พวก นักช่วยเหลือก็จะต้องมาโอบอุ้มกันไป หาก กลไก ด้านการคัดกรองผู้มีความสามารถพิเศษของบางประเทศ มีความไม่เป็นธรรม มีระบบอุปถัมป์ มีระบบต่างตอบแทน ผ่านทางอง๕์กรเครือญาติ พวกพ้อง ผองเพื่อน ทำให้เด็กพิเศษ ได้รับโอกาสไม่เท่ากันในบางประเทศ ต้องสร้างเด็กพิเศษให้มีความภักดี ต่อ ยี่ห้อ ต้นแบบ วัฒนธรรมของประเทศที่เสนอตัวเป็นดอเนอร์ เพื่อ มีต้นแบบ ทางความคิด หรือ แบรนด์แอมบาสซาเดอร์ของตัวเองในประเทศนั้นๆ จะได้ขายสินค้าของตัวเองได้มากขึ้น เพราะ พวก ที่รับ การอุปการะ พวกนี้ จะมีความจงรักภักดี ต่อประเทศผู้สนับสนุน ในการที่จะต้องให้ลูกหลานได้ใช้ชีวิตวัฒนธรรมเยี่ยงนั้นต่อมา ซึ่งหากสามารถ ทำต้นแบบของประเทศตัวเองไปเอารายได้ เข้าประเทศมาบ้างก็คงดี ไม่งั้นพวกบุคคลที่มีความสามารถก็จะสมองไหลไปสู่ประเทศอื่นๆไปหมด เพราะเบื่อหน่ายกับภาวะถดถอย ภาวะตอบแทนพวกพ้อง ในการเมืองที่คอรัปชั่นกันทั้งระบบ เพราะ รายได้ ยังต่างกันมาก โอกาสไม่เท่ากันในการหารายได้ ในตลาดทุนและตลาดแรงงาน อะไร แบบนี้ นัก บริหารการเงิน นักคิด นักสร้างนัก นวัตกรรม ถูกลากไปเทียบเคียงกับแรงงานมีฝีมือ ไม่มีการจัดสถานที่ทำงานที่เหมาะสม ปะปนกันมั่ว ซึ่งนักคิดและนักปฎิบัติ ย่อมมีความต่างในการดำรงชีวิตอยู่แล้ว เอามาเทียบในเรื่องวิธีการทำงานและค่าความตอบแทนที่เหมือนกันไม่ได้ เกิด ปัญหาความแปลกแยกแตกต่าง ไม่มี สหภาพงาน อาชีพ มาช่วยเป็นตัวแทนกับผู้บริหารภาครัฐและ และนายจ้าง ง่ายต่อการปลุกปั่นยุยง ติฉินนินทาง ป้ายความผิด ไม่ซื่อสัตย์ ต่อหน้า เป็น อย่างลับหลังเป็นไปอีกอย่าง ขาด ความสามัคคี จ้องตวงประโยชน์ใกห้พวกพ้องที่ตอบแทนกันมา หวังผลกับผู้มีอำนาจ เลียนาย ลอคเงินลอคประโยช์ไว้ให้เฉพาะนายที่ต่างตอบแทนในการอนุมัติ การให้โครงการ จัดสรร งบประมาณทั้งภายนอกภายในประเทศ ให้กันและกัน เป็นรายๆไป ไร้คู่แข่งที่ต้องมาเปรียบเทียบให้ประโยชน์ พวกที่เคร่งครัดระเบียบวินัย และ ไม่ต้องการยืดหยุ่นอะไรมาก ก็ไปทำงานของผู้ชายมาก แต่งานไหนที่ยืด หยุ่นและ ไม่มีกฏระเบียบชัดเจน อาศัยการซ้องสุมผู้คน อาศัย กินแบ่งแชร์กัน ฌฉพาะ ก้สุมหัวกันอย่างนั้น พวกนี้ กลายเป็นว่ามีพวกหญิงงามมาก เพราะ คาด ว่าต้องบริหารจัดการต่างกับผู้ชาย ที่ต้องรับผิดชอบงานหนัก งานเสี่ยง เพื่ออนาคตครอบครัวและลูกหลาน รับไม่ไหว ก็ต้องมีภาคเอกชน มาช่วยกัน สำหรับกลุ่มที่ดิ้นรนมากเกินไป จนต้องวิ่งเต้นหาผู้ช่วยเหลือแสวงหาโอกาสเพิ่มเป็นรายๆไป โอกาสในการเข้าถึงการมีงานอาชีพหรือธุรกิจที่มีความริเริ่ม สร้างสรรค์ ก็หาคนสนับสนุนทั้งเงินทั้งโนฮาวถูกหรือฟรียากเย็น ยิ่งหญิงเหล็ก ยิ่ง หาโอกาสยาก เพราะ หญิงที่ไม่เอาพวกที่ทำงานใช้สมองหาเงินเอง ดำรงชีวิตเอง เพิ่มมากขึ้น จนเดี๋ยวนี้ ลงตลาดทุนกันเอง เลิกลงทุนในสถาบันการเงิน ตราสาร อสังหา เพราะ เครือข่ายเส้นสายมือไม้มือตีนไม่ค่อยมีเหมือนพวกผู้ชาย ร้อยแปด วันสตรี กลายเป็นวันสตรี ศิโรราป สตรี ปดหูปิดตา ปิดจมูก หวังแค่ เพียงดำรง ครบถ้วน การเป็นครอบครัวเดี่ยวครอบครัวขยาย แลกกับการได้ สวัสดการและช่วยสนับสนุนจากครอบครัว เพราะสติปัญญาไม่สามารถทำงานเชิงเดี่ยวแบบนักวิชาชีพเขาได้   ในเมื่เป็น แรงงานมีฝีมือก็ฝึกซำ้ๆ ไปเรื่อย ๆ แต่งานฝีมือ ไม่อาจเข้าใจงานนักวิชาชีพเขาได้เสียที ต้องแยก ออกจาก พื้นที่ในการทำงานให้ชัดเจน ไม่งั่น ปาก หัวหูท่าทีก็จะ กระทบกระทั่งกันจนเกิดสงครามกลางเมืองกลางแหล่งงานทุกหนทุกแห่งแพร่ระบาด ความไม่รู้และการไม่ฝึก การไม่เคารพ ในสิทธิของตนเอง ตัวเองยังดูถูกความเป็นคนของตนเองเลย แล้วจะทำอย่างไรได้ การพัฒนาคนยากมาก ดีชั่วไม่รู้ เพราะ คนส่วนใหญ่ของประเทศด้อยและกำลังพัฒนา ถูกบังคับให้อยู่ในกระดองที่ไม่อาจเข้าถึงโอกาสในการพัฒนาได้เท่ากัน ไม่มีฝ่ายคุ้มกฏ ฝ่ายกำกับถ่วงดุลมาช่วยให้ ความเป็นอยู่ดีขึ้น ด้วยการมีรายได้เหมาะสมด้วยความสามารถของตนเอง แต่กลายเป็นการตอบแทนในระบบอุปถัมปพวกพ้อง คนที่ใช้อำนาจเลือกตัวแทนที่ตน ต้องการให้มาเอาผลประโยชนกลับคืนมาสู่ชุมชนของตน ก็ไม่สามารถบริหารจัดการประโยยนจากท้องถิ่นของตนได้เต็ม ไปศึกษาดูงานก็เอามาปรับโครงสร้างไม่ได้เสียที่ คนที่เลือกตัวแทนเข้ามา กำกับควบคุมตัวแทนของตัวเองไม่ได้ ประหลาดแท้ในบางประเทศ องคกรสำคัญ ใช้อำนาจถ่วงดุลไม่ได้ตามที่กฏหมายใหมา ตกปลาดี กว่า จบ โลกนี้มักมีการเคลื่อไหวถ่วงดุลกันไปมาเสมอ มันสนุกสนานเกินกว่าจะคาดเดา แต่ เราควรเป็นคันเบ็ด และเลือกเหยื่อที่เป็นเป็นตลาดทุนอร่อยๆ ให้ปลาใหย่แย่งกันมากินเหยื่อของเรากันเถอะ
Sugar  day and conflict..with sugar fishing today..love big fishes ...come on...!




http://www.aspirationlaw.com
http://www.siamintelligence.com/thai-digital-tv-analysis/
http://english.pravda.ru/

อะไรคือ “ทีวีดิจิทัล”

ทีวีดิจิทัล (digital television) คือระบบการแพร่สัญญาณคลื่นโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (“terrestrial” ในที่นี้หมายความว่าไม่ได้ยิงสัญญาณออกนอกโลกเหมือนดาวเทียม) เหมือนกับระบบของฟรีทีวีในปัจจุบัน แต่เปลี่ยนวิธีการเข้ารหัสสัญญาณเป็นแบบดิจิทัลแทนระบบแอนะล็อกแต่เดิม
ข้อดีของการแพร่สัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลคือ ให้ภาพที่คมชัดกว่าเดิม ใช้ช่วงคลื่นน้อยลงกว่าเดิมมาก และมีความสามารถอื่นๆ เข้ามาอำนวยความสะดวกแก่ผู้รับชมทีวี เช่น มีผังรายการแสดงบนหน้าจอได้เลย เป็นต้น
ปัจจุบันอุตสาหกรรมทีวีทั่วโลกเข้าสู่ระบบดิจิทัลกันแทบทั้งหมดแล้ว (ประเทศไทยถือว่าช้าไปราว 10 ปีเพราะไม่สามารถตั้ง กสช. ได้ ภารกิจนี้จึงตกมาอยู่กับ กสทช. ในฝั่งคณะกรรมการ กสท. แทน) กระบวนการผลิตรายการทีวีทั้งหมดตั้งแต่กล้องวิดีโอไปจนถึงการตัดต่อ เปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิทัลกันหมดแล้ว เรียกได้ว่าในฝั่งการผลิตและการออกอากาศนั้น เทคโนโลยีพร้อมหมดแล้ว เหลือแค่ฝั่งของนโยบาย และฝั่งของผู้ชมโทรทัศน์เท่านั้น (เครื่องรับโทรทัศน์จำเป็นต้องรองรับสัญญาณระบบดิจิทัลด้วย ซึ่งแก้ด้วยการซื้อกล่องแปลงสัญญาณดิจิทัลมาต่อเข้ากับทีวีเดิมได้)
ในระยะยาวแล้ว ทีวีระบบแอนะล็อกจะถูกเปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิทัลทั้งหมด ด้วยเหตุผลว่ารับชมได้เหมือนกัน แต่ใช้ช่วงกว้างของสัญญาณ (bandwidth) น้อยกว่ากันมาก ดังนั้นในต่างประเทศจึงทยอยเปลี่ยนระบบทีวีเป็นดิจิทัล และเมื่อพร้อมแล้วก็หยุดแพร่สัญญาณระบบแอนะล็อกอย่างถาวร (digital switchover) หลังจากนั้นจึงนำคลื่นเดิมที่ใช้กับทีวีระบบแอนะล็อกไปจัดสรรใหม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และตอบสนองความต้องการใช้คลื่นความถี่ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
สภาพการแข่งขันของฟรีทีวีของประเทศไทย (ที่มา – กานต์ ยืนยง SIU)

ผลกระทบของ “ทีวีดิจิทัล” ต่ออุตสาหกรรมทีวีของไทย

ต้องยอมรับว่า “ฟรีทีวี” (ในที่นี้คือ analog terrestrial television) มีสภาพการแข่งขันแบบกึ่งผูกขาดโดยรัฐมายาวนานหลายสิบปี ในจำนวนฟรีทีวีทั้ง 6 ช่อง แบ่งได้เป็น
  • ช่องของหน่วยงานรัฐ 3 ช่อง ได้แก่ ช่อง 5 (กองทัพบก) ช่อง 9 (อสมท.) และช่อง 11 (กรมประชาสัมพันธ์)
  • ช่องที่หน่วยงานรัฐให้สัมปทานแก่เอกชน ได้แก่ ช่อง 3 (สัมปทานจาก อสมท. ให้กลุ่มบริษัท BEC) และช่อง 7 (กองทัพบกให้สัมปทานแก่กลุ่มบริษัท BBTV)
  • ทีวีสาธารณะของหน่วยงานอิสระของรัฐ ได้แก่ Thai PBS
ช่องชนิดผู้ดำเนินการระยะเวลาสัมปทาน
ช่อง 3เอกชนได้สัมปทานจากรัฐ (อสมท)บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด (ในเครือ BEC)2513-2563
ช่อง 5รัฐดำเนินการเองบริษัท อาร์ทีเอ เทเลวิชั่น จำกัด (กองทัพบก)-
ช่อง 7เอกชนได้สัมปทานจากรัฐ (กองทัพบก)บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด2510-2566
ช่อง 9รัฐวิสาหกิจบริษัท อสมท จำกัด-
NBTรัฐดำเนินการเองกรมประชาสัมพันธ์-
Thai PBSทีวีสาธารณะองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย-
ทีวีเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศไทย มีอัตราการเข้าถึงประชากร 98% (ตัวเลขอ้างอิงจากรายงานของ กสทช.) มากกว่าสื่อชนิดอื่นๆ อย่างวิทยุและหนังสือพิมพ์มาก เม็ดเงินเชิงพาณิชย์จำนวนมหาศาลจึงไหลเข้าสู่อุตสาหกรรมทีวี และผู้ที่ได้รับความมั่งคั่งย่อมเป็นหน่วยงานต่างๆ ที่มีอำนาจควบคุมสถานีโทรทัศน์ของไทยทั้ง 5 ช่องนั่นเอง (ไม่นับรวม Thai PBS ที่อยู่ได้จากเงินภาษี ไม่รับโฆษณาจากภาคเอกชน)
กลุ่มทุนที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากภาวะกึ่งผูกขาดของอุตสาหกรรมทีวีไทยย่อมเป็น BEC และ BBTV ที่มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับหน่วยงานผู้ให้สัมปทาน และพยายามกีดกันคู่แข่งรายอื่นๆ โดยใช้กลไกเรื่องสัมปทานเป็นเครื่องมือ และในเมื่อทีวีระบบแอนะล็อกจำเป็นต้องใช้ช่วงคลื่นที่กว้างมากในการแพร่สัญญาณ ในทางเทคนิคจึงมีจำนวนสถานีได้ไม่มากนักเทียบกับความถี่ที่ประเทศไทยมีใช้งานสำหรับกิจการโทรทัศน์
สายสัมพันธ์ผู้บริหาร-กลุ่มทุนช่อง 7 (ที่มา – กานต์ ยืนยง SIU)
การเป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์เองย่อมสร้างอำนาจต่อรองกับโฆษณาได้มากกว่าผู้ผลิตรายการทีวีที่ไม่ได้เป็นเจ้าของสถานีมาก ในอดีตที่ผ่านมา เราจึงเห็นกลุ่มทุนใหญ่ของประเทศหลายกลุ่มพยายามสอดแทรกตัวเข้ามาตั้งสถานีทีวีอยู่เป็นระยะ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ตัวอย่างที่ชัดเจนคือสถานี ITV ที่กลุ่มทุนหลายกลุ่มอย่างธนาคารไทยพาณิชย์ เครือเนชั่น และเครือชินคอร์ป หมายมั่นปั้นมือว่าจะกลายเป็นสถานีทีวีภาคเอกชนรายใหม่ของไทย แต่ก็เจอปัญหามากมายทั้งประเด็นการเมือง ธุรกิจ และสัญญาสัมปทาน จนต้องถอนตัวออกไปทั้งหมด
เมื่อเทคโนโลยีเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมเริ่มพัฒนา จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่กลุ่มทุนสื่อรายใหญ่แทบทุกรายของประเทศไทย หันมาทำสถานีทีวีของตัวเอง เช่น ทรู เนชั่น เวิร์คพอยต์ แกรมมี่ อาร์เอส เมเจอร์ กันตนา ไทยรัฐ เดลินิวส์ มติชน ฯลฯ รวมไปถึงกลุ่มทุนรายเล็กๆ อีกมากที่เข้ามาร่วมชิงเค้กก้อนนี้ แม้ว่าในช่วงแรกๆ เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมจะยังมีฐานผู้ชมสู้ฟรีทีวีไม่ได้ก็ตาม
การมาถึงของเทคโนโลยีทีวีดิจิทัล มีบทบาทสำคัญต่อการสลายสภาพการผูกขาดของอุตสาหกรรมทีวีในประเทศไทยอย่างแน่นอน เพราะข้อจำกัดเรื่องจำนวนช่องรายการ 6 ช่องที่อยู่กับประเทศไทยมานานจะหมดไป มติของคณะกรรมการ กสทช. ตัดสินแล้วว่าบนระบบทีวีแบบดิจิทัล จะมีช่องรายการทั้งหมด 48 ช่อง ซึ่งถือว่าเพิ่มมาจากเดิมถึง 8 เท่า หรือ 700% จากเดิม มีพื้นที่ให้กลุ่มทุนรายอื่นๆ เข้ามาเปิดสถานีได้ในที่สุด
ดังนั้นในอนาคตอันใกล้ เราจะเห็นฟรีทีวีเดิมทั้ง 6 ช่องยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการดิจิทัลทีวีจาก กสทช. อย่างแน่นอน รวมไปถึงกลุ่มทุนสื่อรายใหญ่รายอื่นๆ ที่ย่อมไม่พลาดโอกาสทองนี้เช่นกัน

แยกส่วนช่องรายการ-สถานี-โครงข่ายการแพร่สัญญาณ

โครงสร้างการแข่งขันของอุตสาหกรรมฟรีทีวีในประเทศไทย นอกจากภาวะกึ่งผูกขาดโดยรัฐแล้ว ยังเป็นระบบการผูกขาดแนวดิ่ง (vertical integration) นั่นคือองค์กรที่ควบคุมสถานีทีวีแต่ละแห่งจะเป็นเจ้าของทุกอย่าง ตั้งแต่เสาส่งสัญญาณตามพื้นที่ต่างๆ ในประเทศไทย อุปกรณ์ส่งสัญญาณแพร่ภาพ คลื่นความถี่ ช่องรายการ ไปจนถึงผลิตรายการด้วยตัวเอง (แล้วค่อยแบ่งเวลาออกอากาศบางส่วนให้กับเอกชนรายอื่นเช่าเวลาหาผลประโยชน์)
การผูกขาดแนวดิ่งนี้ทำให้ช่องทีวีต่างๆ แข่งขันกันที่ความครอบคลุมของสัญญาณแพร่ภาพ และกลายเป็นช่อง 7 ที่ได้ประโยชน์สูงสุดเพราะมีสัญญาณแพร่ภาพที่ครอบคลุมมากกว่า ส่งผลให้ทะยานขึ้นเป็นสถานีที่มีคนดูเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ (และส่งผลบวกในแง่ของราคาโฆษณาที่แพงกว่า) แต่เมื่อการขยายพื้นที่แพร่ภาพเริ่มอิ่มตัว ทุกช่องเริ่มมีพื้นที่การแพร่สัญญาณภาพที่ใกล้เคียงกันมากขึ้น ในช่วงหลังช่อง 3 จึงพยายามเจาะตลาดของช่อง 7 โดยอาศัยเนื้อหารายการที่ดึงดูดมาเป็นจุดขาย ในขณะที่ช่องของรัฐช่องอื่นๆ ไม่ได้เน้นผลประโยชน์เชิงพาณิชย์มากเท่ากับช่องของเอกชนทั้งสองราย
เปรียบเทียบโครงสร้างการแข่งขันในระบบแอนะล็อก-ดิจิทัล (ที่มา รายงาน กสทช.)
แต่ในยุคของทีวีดิจิทัล การผูกขาดแนวดิ่งจะหายไปในที่สุด โดยเจ้าของช่องรายการ อาจไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของโครงข่ายเสาแพร่ภาพสัญญาณก็ได้ และในทางกลับกัน อาจมีแต่บริษัทที่ให้บริการวางระบบเสาสัญญาณ (ซึ่งเป็นงานวิศวกรรม) เพียงอย่างเดียว ไม่เข้ามายุ่งกับการผลิตเนื้อหารายการเลยก็เป็นได้ กระบวนการแพร่ภาพจะใช้วิธีต่างฝ่ายต่างเช่าใช้บริการของอีกฝ่ายเติมเต็มซึ่งกันและกัน การลงทุนเริ่มแรกจึงน้อยลงมาก เปิดโอกาสให้ผู้เล่นรายเล็กหน้าใหม่เข้ามาประกอบกิจการในตลาดได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้เกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมมากขึ้นตามมา
จากร่างประกาศของ กสทช. แบ่งระดับของใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ไว้ 3 ระดับ ดังนี้
  1. ใบอนุญาตให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ หมายถึง “โครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ในการประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ และให้หมายความรวมถึง ที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง เสา ระบบสาย สายอากาศ หรือท่อ”
  2. ใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ หมายถึง “การให้บริการระบบเชื่อมโยงของกลุ่มเครื่องส่งหรือถ่ายทอดสัญญาณเสียงหรือภาพที่ใช้ในการส่งข่าวสารสาธารณะหรือรายการจากสถานีไปยังเครื่องรับ ไม่ว่าจะโดยสื่อตัวนำที่เป็นสาย คลื่นความถี่ แสง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือสื่อตัวนำใด”
  3. ใบอนุญาตให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ หมายถึง “การประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์เพื่อให้บริการส่งข่าวสารสาธารณะหรือรายการไปยังเครื่องรับที่สามารถรับชมหรือรับฟังการให้บริการนนั้นๆ ได้ ไม่ว่าจะส่งโดยผ่านระบบคลื่นความถี่ ระบบสาย ระบบแสง ระบบแม่เหล็กไฟฟ้า หรือระบบอื่น ระบบใดระบบหนึ่งหรือหลายระบบรวมกัน”
ใบอนุญาตแต่ละระดับจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ โดยใบอนุญาตระดับที่สอง สามารถให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกได้ด้วย และผู้ถือใบอนุญาตระดับที่สาม สามารถทำได้ทุกอย่างที่ใบอนุญาตระดับที่หนึ่งและสองทำได้ (กสทช. ออกแบบใบอนุญาตลักษณะนี้กับกิจการโทรคมนาคมด้วย โดยแบ่งเป็นสามระดับเช่นกัน)
ผู้ประกอบการโทรทัศน์จำเป็นต้องขอใบอนุญาตประเภทที่สาม แต่จะวางโครงข่ายเองหรือไม่ก็ได้ ซึ่งเราคาดว่าผู้ประกอบการฟรีทีวีทุกรายในปัจจุบันจะยังคงใช้บริการโครงข่ายเดิมของตัวเอง แต่บางราย (โดยเฉพาะหน่วยงานที่เป็นของรัฐ เช่น อสมท และ ช่อง 5) อาจแยกส่วนองค์กรมาให้บริการเฉพาะโครงข่ายแก่ผู้ประกอบการโทรทัศน์รายอื่นๆ ด้วยก็เป็นได้
เมื่อ กสทช.ประกาศให้ขอรับใบอนุญาตบริการโครงข่ายโทรทัศน์ และใบอนุญาตให้บริการโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งในเดือนพฤศจิกายนนี้ อสมท ก็พร้อมที่จะยื่นขอรับใบอนุญาตให้บริการเช่าใช้โครงข่ายต่างๆที่มีอยู่ได้ทันที “เรามีโครงข่ายเชื่อมโยง ระบบเครื่องส่งสัญญาณภาพ และเสียง และเครื่องรับสัญญาณ รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานต่างๆอย่าง อาคาร เสา ระบบสาย ท่อ สายอากาศ และมีสถานีกระจายเสียงอยู่กว่า 36 แห่งทั่วประเทศ เพราะฉะนั้น อสมท ถือว่ามีความพร้อมมากที่สุด”
เอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
ปัจจุบันช่อง 7 กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาขอใบอนุญาตทีวีดิจิทัล ทั้งประเภทโครงข่ายและสิ่งอำนวยความสะดวก เนื่องจากมีความพร้อมด้านสถานีส่งสัญญาณรวม 37 สถานีทั่วประเทศ ครอบคลุมการส่งสัญญาณในระบบอนาล็อก 97%
นายศรัณย์ วิรุตมวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด
รูปแบบใบอนุญาตประเภทต่างๆ (ที่มา – รายงาน กสทช.)

 ช่องรายการทีวีแบบดิจิทัล

นับจากอดีตถึงปัจจุบัน ช่องสถานีฟรีทีวีในประเทศไทยไม่เคยถูกจัดประเภท ทีวีทุกช่องให้บริการในเชิงพาณิชย์ หารายได้จากโฆษณาเป็นหลัก (ยกเว้น Thai PBS ที่เกิดขึ้นในภายหลังพร้อมกับแนวคิด “ทีวีสาธารณะ” เป็นครั้งแรกในประเทศไทย)
แต่ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. สภาพการณ์นี้จะถูกเปลี่ยนไป โดย กสทช. จัดกลุ่มผู้ให้บริการกระจายเสียง-โทรทัศน์ ส่วนที่ต้องใช้คลื่นความถี่ (ซึ่งหมายถึงฟรีทีวีทั้งแอนะล็อกและดิจิทัล แต่ไม่รวมเคเบิลทีวีและดาวเทียม) ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
  • บริการสาธารณะแบ่งย่อยได้อีก 3 ประเภท
    • บริการสาธารณะประเภทที่หนึ่ง ส่งเสริมความรู้ การศึกษา ศาสนา ศิลปะวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การเกษตร สุขภาพ อนามัย กีฬา คุณภาพชีวิต
    • บริการสาธารณะประเภทที่สอง เพื่อความมั่นคงของรัฐ หรือความปลอดภัยสาธารณะ
    • บริการสาธารณะประเภทที่สาม เพื่อกระจายข่าวสารของรัฐบาล-รัฐสภาต่อประชาชน บริการข่าวสารแก่คนพิการ คนด้อยโอกาส
  • บริการชุมชน คือบริการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อบริการสาธารณะ แต่เป็นประโยชน์ตามความต้องการของชุมชน
  • กิจการธุรกิจคือบริการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาผลกำไร แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
    • ระดับชาติ
    • ระดับภูมิภาค
    • ระดับท้องถิ่น
กิจการแต่ละประเภทมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป ดังตาราง
ตารางเปรียบเทียบ รูปแบบใบอนุญาตทีวีดิจิทัลชนิดต่างๆ (รวบรวมโดย SIU คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม)
(สำหรับรายละเอียดเรื่องจำนวนช่อง ดูจากบทความ กสทช. แบ่งคลื่นทีวีดิจิทัลลงตัว 48 ช่อง)
สถานีฟรีทีวีในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเข้าหมวด “ธุรกิจ” ยกเว้น Thai PBS ที่อยู่ในกลุ่มบริการสาธารณะประเภทที่หนึ่ง ส่วนทีวีของรัฐบาลอย่างช่อง 11 อาจพิจารณาแยกส่วนกิจการประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลโดยตรง มารับใบอนุญาตบริการสาธารณะประเภทที่สาม และช่อง 5 อาจพิจารณาแยกส่วนกิจการเพื่อความมั่นคงมารับใบอนุญาตบริการสาธารณะประเภทที่สองได้
อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่าการขอรับใบอนุญาตเหล่านี้จะครอบคลุมเฉพาะ “ทีวีดิจิทัล” เท่านั้น ส่วนของทีวีแอนะล็อกที่ฉายอยู่ในปัจจุบัน ผู้ให้บริการเดิมจะสามารถให้บริการต่อไปได้ตามแผนแม่บทจัดการคลื่นความถี่ของ กสทช. นั่นคือ
  • บริษัทเอกชน ให้บริการจนถึงหมดอายุสัมปทาน (กรณีของช่อง 3 คือปี 2563 และช่อง 7 หมดปี 2566) ตามมาตรา 83 ใน พ.ร.บ. กสทช.
  • หน่วยงานของรัฐ ให้บริการต่อได้อีก 10 ปีตามแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ของ กสทช.

ชิงเค้กช่องธุรกิจ แต่ช่องสาธารณะใครจะทำ?

จากแผนการแบ่งช่องฟรีทีวีดิจิทัลของ กสทช. เราพอประเมินสถานการณ์ได้เบื้องต้นดังนี้

ช่องธุรกิจ

จากเงื่อนไขการขออนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิทัลที่ กสทช. กำหนด จะเห็นว่าช่องธุรกิจมีเพียง 24 ช่องเท่านั้น ถ้าลองนำช่องรายการในเคเบิลทีวีหรือทีวีดาวเทียมในปัจจุบัน มาจำลองสถานการณ์ว่าบริษัทใดจะขอใบอนุญาตช่องทีวีดิจิทัลแบบใดบ้าง ได้คร่าวๆ ดังนี้
  • ช่องข่าว: Nation Channel, TNN, Voice TV, Spring News และอาจมีช่อง 11
  • ช่องเด็กและครอบครัว: ช่องการ์ตูนน่าจะเป็นไปได้มากที่สุด แต่อาจมีช่องรายการครอบครัวคล้ายกับ Disney Channel ของต่างประเทศได้เช่นกัน
  • ช่องทั่วไป ความละเอียด SD: ช่อง 3-5-7-9 ในปัจจุบันจะขอใบอนุญาตกลุ่มนี้ รวมถึงช่องดาวเทียมส่วนใหญ่ด้วย
  • ช่องทั่วไป ความละเอียด HD: รายการที่ถ่ายทอดด้วยความละเอียดแบบ HD แล้วคุ้ม น่าจะยังเป็นรายการกีฬาหรือภาพยนตร์เป็นหลัก ซึ่งรูปแบบอาจเป็นช่องที่ผู้ผลิตซื้อรายการจากต่างประเทศมาฉาย เป็นต้น
ถ้าใช้การประเมินว่า ช่องทั่วไปแบบ HD ที่ในเบื้องต้นยังมีเพียงแค่ 4 ช่อง จะต่อสู้กันอย่างดุเดือดเพราะมีมูลค่าสูงสำหรับผู้ชมบางกลุ่ม SIU เชื่อว่าช่องกีฬาหรือภาพยนตร์น่าจะมีโอกาสทางธุรกิจสูงสุด เพราะเป็นเนื้อหาจากต่างประเทศที่อยู่ในรูปแบบ HD อยู่แล้ว ไม่ต้องลงทุนผลิตเนื้อหาความละเอียดสูงเพิ่มเติม เราน่าจะเห็นกลุ่มทรูเข้ามาชิงตลาดนี้ โดยใช้เนื้อหาที่มีอยู่แล้วจาก True Visions มาฉายผ่านฟรีทีวีดิจิทัล นอกจากนี้กลุ่มทุนใหญ่อย่างอินทัช ก็แสดงเจตนาชัดเจนว่าจะเข้ามาประมูลช่องเด็ก ช่องทั่วไป และช่อง HD อย่างน้อย 3 ช่อง พร้อมเปิดโอกาสเข้ามาขอใบอนุญาตเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายอีกด้วย (ที่มาไทยรัฐออนไลน์)
ส่วนช่องทั่วไปความละเอียด SD มีเพียง 10 ช่องเท่านั้น แต่กลับเป็นช่องที่ตลาดต้องการมากเป็นพิเศษ (ถ้าวัดจากรูปแบบของช่องดาวเทียม-เคเบิลทีวีในปัจจุบัน) และเมื่อรูปแบบการจัดสรรคลื่นสำหรับประกอบกิจการทีวีธุรกิจจำเป็นต้องใช้การประมูล ก็น่าจะลงเอยด้วยกลุ่มทุนสื่อขนาดใหญ่เข้ามาชิงช่อง SD เหล่านี้กันอย่างดุเดือด ส่วนกลุ่มทุนรายเล็กน่าจะเลือกทำดาวเทียม-เคเบิลทีวีต่อไปเช่นเดิม
ช่องข่าวน่าจะมีการต่อสู้กันบ้างแต่ไม่เยอะเท่ากับช่องทั่วไป แต่ช่องเด็กและครอบครัวต้องรอดูว่าจะมีผู้ขอใบอนุญาตครบ 5 ช่องตามที่ กสทช ต้องการหรือไม่
ทั้งนี้ต้องทราบว่าในอนาคตระยะยาว กสทช. จะเปิดประมูลทีวีดิจิทัลเพิ่มเติม หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการเปลี่ยนผ่านมาใช้ระบบแพร่ภาพแบบดิจิทัลทั้งหมด (digital switch over) และนำคลื่นแอนะล็อกเดิมมาจัดสรรใหม่สำหรับทั้งกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
ด้วยศักยภาพของช่อง 3 เรามีความสามารถที่จะเข้าประมูลขอใบอนุญาตทีวีดิจิตอลมากกว่า 1 ช่องอยู่แล้ว โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึงคอนเทนต์ (รายการต่างๆ) บุคลากร ทีมงานที่มีเหลือเฟือ แน่นอนเราสนใจเข้าประมูลเพราะต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีทีวีดิจิตอลเป็นสิ่งที่กำลังมา และ กสทช. มีกำหนดยกเลิกการออกอากาศผ่านระบบอนาล็อกในปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่สัมปทานของช่อง 3 หมดลงพอดี
สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด เจ้าของสถานีโทรทัศน์สีช่อง 3

ช่องสาธารณะ-บริการชุมชน

กสทช. กำหนดจำนวนช่องบริการสาธารณะไว้ถึง 12 ช่อง ซึ่งทีวีสาธารณะอย่าง Thai PBS ก็แสดงเจตจำนงชัดเจนว่าจะขอใบอนุญาตอย่างน้อย 1 ช่อง (ในประเภทที่หนึ่ง) สำหรับทีวีสาธาณะประเภทที่สองน่าจะเป็นช่องของกรมประชาสัมพันธ์ และช่องรัฐสภาที่มีอยู่แล้ว ส่วนทีวีสาธารณะประเภทที่สามก็อาจมีมหาวิทยาลัยบางแห่งที่ต้องการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ด้านการศึกษาของตัวเอง เช่น มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญที่มีทีวีของตัวเองอยู่แล้ว
หน่วยงานอื่นที่น่าจะสนใจขอใบอนุญาตช่องสาธารณะคือ กระทรวงต่าง เช่น กระทรวงเกษตร กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ และองค์กรทางศาสนา เช่น วัดพระธรรมกายที่มีช่อง DMC หรือช่องของผู้นับถือศาสนาอิสลาม เป็นต้น
สำหรับช่องชุมชนนั้น น่าจะเป็นช่องจากเคเบิลทีวีท้องถิ่นที่เผยแพร่ข่าวและกิจกรรมของท้องถิ่นอยู่แล้ว เข้ามาขอใบอนุญาตกลุ่มนี้แล้วยกระดับจากเคเบิลทีวี มาเป็นฟรีทีวีในระบบดิจิทัลด้วย
คำถามที่น่าหาคำตอบก็คือ ช่องสาธารณะและช่องบริการชุมชนรวม 24 ช่อง จะมีหน่วยงานที่มีศักยภาพมาขอใบอนุญาตครบทั้งหมดหรือไม่ ในเมื่อกฎเกณฑ์ของ กสทช. ค่อนข้างเข้มงวดเรื่องวิธีการหารายได้อยู่พอสมควร ถึงแม้ช่องกลุ่มนี้จะไม่ต้องประมูลเช่นเดียวกับช่องธุรกิจ แต่การประกอบกิจการอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องใช้ทุนไม่น้อย จึงน่าสงสัยว่าสุดท้ายแล้วมีหน่วยงานไม่หวังกำไรมาขอยื่นใบอนุญาตครบตามจำนวนที่ กสทช. ต้องการหรือไม่ ถ้าไม่ครบก็แปลว่าคลื่นความถี่เหล่านี้จะถูกปล่อยไว้เฉยๆ นำมาใช้ประโยชน์อย่างอื่นไม่ได้อย่างนั้นหรือ?
โครงสร้างใบอนุญาตทีวีของ กสทช.

มูลค่าของทีวีดิจิทัล อาจไม่เยอะอย่างที่คิด

ทีวีดิจิทัลเป็นวิวัฒนาการของทีวีแบบแอนะล็อก โดยทำลายข้อจำกัดด้านจำนวนช่องและคุณภาพความคมชัดของสัญญาณในระบบแอนะล็อกไป
ในต่างประเทศเริ่มใช้ทีวีระบบดิจิทัลกันมานานแล้ว และในประเทศพัฒนาแล้วหลายแห่ง เช่น ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ก็เปลี่ยนไปใช้ระบบดิจิทัล 100% แล้ว แต่กรณีของประเทศไทยนั้น หลังจากมีปัญหาไม่สามารถตั้งหน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์อย่าง กสช. ตามรัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นเวลาถึงสิบกว่าปี ทำให้แผนการถ่ายทอดสัญญาณด้วยระบบดิจิทัลล่าช้าตามไปด้วย และเกิดสภาพ “คอขวด” ในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ ที่ต้องพึ่งพาผู้ให้บริการฟรีทีวีระบบแอนะล็อกทั้ง 6 ช่องมาโดยตลอด
สภาพการแข่งขันแบบกึ่งผูกขาดทำให้กลุ่มทุนสื่ออื่นๆ ไม่สามารถแทรกตัวเข้ามาทำสถานีทีวีของตัวเองได้ และเมื่อเทคโนโลยีทีวีแบบไม่ใช้คลื่นความถี่อย่างเคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม และอินเทอร์เน็ตทีวีเริ่มพัฒนา กลุ่มทุนสื่อเหล่านี้จึงกระโจนเข้าไปทำทีวีช่องทางเลือกแทนการทำทีวีดิจิทัลที่ไม่รู้ว่าจะสำเร็จเมื่อใด และถึงแม้ว่าในช่วงแรกๆ ทีวีทางเลือกเหล่านี้จะไม่ได้รับความนิยมมากนัก แต่เมื่อเวลาผ่านไป ทีวีทางเลือกพัฒนามากขึ้น มีช่องรายการที่น่าสนใจเพิ่มมากขึ้น แถมมีข้อดีเหนือฟรีทีวีแบบแอนะล็อกในแง่ความคมชัดที่ดีกว่า ทำให้คนไทยจำนวนมากหันมาดูทีวีทางเลือกเหล่านี้แทน
ตัวเลขในปัจจุบัน (จากการสำรวจของ Neilsen) ระบุว่าสัดส่วนการรับชมโทรทัศน์ในประเทศไทยคือ
  • ทีวีภาคพื้นดิน 45.8%
  • เคเบิลทีวี 28.7%
  • ทีวีดาวเทียม 25.5%
จะเห็นว่าทีวีภาคพื้นดินยังมีส่วนแบ่งเป็นอันดับหนึ่ง แต่ถ้านับรวมเคเบิลทีวีกับทีวีดาวเทียมเข้าด้วยกัน กลับกลายเป็นว่าทีวีทางเลือกกลุ่มที่ไม่ใช้คลื่นความถี่มีส่วนแบ่งมากกว่าที่ 54.2% และตลาดก็มีแนวโน้มไปในทางทีวีกลุ่มไม่ใช้คลื่นมากขึ้นเรื่อยๆ (อ่านบทวิเคราะห์ SIU เรื่องการแข่งขันในทีวีดาวเทียมกับกรณีของ GMMZ ประกอบ)
ที่มา – รายงานการประเมินผลกระทบจากการออกหลักเกณฑ์ วิธีการอนุญาต การให้บริการโครงข่าย การให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวก และการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ ของ กสทช.
ประชาชนคนไทยมีความต้องการรับชมทีวีที่หลากหลาย และมีความคมชัด ซึ่งเทคโนโลยีที่ตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้คือ ทีวีภาคพื้นแบบดิจิทัล ทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวี
แต่เมื่อทีวีดิจิทัลล่าช้าไปมาก ประชาชนจำนวนมากจึง “ยอมจ่าย” ค่าอุปกรณ์ทีวีดาวเทียมหรือเคเบิลทีวีกันไปเยอะแล้ว อุปกรณ์เหล่านี้ต้องลงทุนในราคาสูงพอสมควร (เป็นหลักพันบาทขึ้นไป) และถ้าหากพิจารณาว่ากลุ่มทุนสื่อที่สามารถทำช่องทีวีได้ต่างมาทำทีวีดาวเทียมหรือเคเบิลทีวีกันหมดแล้ว นั่นแปลว่า รายการที่จะอยู่ในทีวีดิจิทัล ย่อมเป็นรายการจากเคเบิลทีวีหรือทีวีดาวเทียมในปัจจุบันนั่นเอง
อาร์เอส สนใจ และพร้อมทำธุรกิจทีวีดิจิตอลอยู่แล้ว เพราะคอนเทนต์ และความพร้อมในมือ ที่สำคัญเรามีช่องทีวีดาวเทียมที่พร้อมปรับมาทำทีวีดิจิตอลได้เลยในอนาคตอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการสร้างและทำสถานีทีวีดิจิตอลเพิ่มขึ้นมาอีก 1 สถานี จึงไม่ใช่ปัญหา รวมทั้งเรื่องวงเงินลงทุน ซึ่งคงอยู่ในหลัก 100 ล้านบาทต่อปี
สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)
แกรมมี่มีความพร้อมที่จะทำทีวีดิจิตอลแน่นอน  เพราะมีคอนเทนต์ในมือจำนวนมากอย่างที่ทราบ และผมว่า 24 ช่องที่จะให้ใบอนุญาต ไม่น่าจะทำใครผิดหวัง อย่างน้อยน่าจะมีผู้ประกอบการสนใจสัก 10 กว่าราย โดยเฉพาะในกลุ่มที่ทำทีวีดาวเทียม
ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)
จุดเด่นของทีวีดิจิทัลในแง่ความแตกต่างของเนื้อหาจึงหายไปเกือบหมด เหตุเพราะรายการที่ฉายบนช่องดิจิทัลส่วนใหญ่จะเป็นรายการแบบเดียวกับที่หาดูได้ผ่านเคเบิลทีวีหรือทีวีดาวเทียม และเมื่อพิจารณาจากการย้ายไปดูทีวีระบบดิจิทัลต้องซื้อกล่องรับสัญญาณเพิ่มเติม (ราคาน่าจะอยู่ราว 500-1,000 บาท ขึ้นกับนโยบายการสนับสนุนค่าอุปกรณ์ของ กสทช. ในอนาคต) ทำให้แรงจูงใจที่ประชาชนจะหันไปดูทีวีดิจิทัลมีลดลง โดยเฉพาะกลุ่มที่ลงทุนไปกับอุปกรณ์ทีวีดาวเทียมหรือเคเบิลทีวีอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้วทีวีดิจิทัลเป็นเส้นทางที่ประเทศไทยต้องมุ่งหน้าไปอยู่ดี ทีวีแอนะล็อกจะต้องถูกเลิกใช้ในที่สุด เพียงแต่จำนวนผู้ชมทีวีดิจิทัลอาจไม่เยอะอย่างที่คาดกัน เหตุเพราะมีเทคโนโลยีคู่แข่งทั้งเคเบิลและดาวเทียมเข้ามาแย่งชิงฐานผู้ชม (ที่อาจรับชมรายการเดียวกัน) ไปแล้วนั่นเอง

ข้อมูลอ้างอิง

  • เอกสาร กสทช.
    • รายงานการประเมินผลกระทบจากการออกหลักเกณฑ์ วิธีการอนุญาตการให้บริการโครงข่าย การให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวก และการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ ของ กสทช.
    • ร่างประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์
    • ร่างประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการอนุญาต และการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์
    • ร่างประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกระจายเสียงหรือโทรทัศน์
    • เอกสารทั้งหมดดาวน์โหลดได้จาก เว็บไซต์ กสทช.
  • Media Reform Vision 2020 โดย กานต์ ยืนยง Siam Intelligence Un



Maidan activists take Russian Embassy in Kiev under control

07.03.2014 | Source: 

Pravda.Ru

 

Maidan activists take Russian Embassy in Kiev under control. 52348.jpeg
AP photo
Representatives of the "self-defense of Maidan" took the building of the Russian embassy in Kiev under control, Ukrainian media say. The activists reportedly stand against the invasion of the Russian army in the Crimea.
Hundreds of Kiev residents picketed the Russian Embassy last week demanding to stop aggression on the territory of Ukraine.

Yesterday, Russian President Vladimir Putin held an operational meeting with members of the Russian Security Council. As president's spokesman Dmitry Peskov said, the meeting discussed the situation in Ukraine, including the decision of the Supreme Council of the Crimea to join the Russian Federation.
On March 1, Crimea's new prime minister asked Russian President Vladimir Putin to ensure peace in the country. The same day, the Federation Council approved the address from the Russian president to deploy a limited contingent of Russian troops in the Crimea in order to protect the population of the peninsula. A little later, press secretary Dmitry Peskov said that the president had not made the decision to deploy Russian troops in the Crimea. It was purely a prerogative of the president, Peskov said. Putin later said that he was not planning to deploy troops to Ukraine. In addition, he denied reports saying that Russian troops blocked a range of strategic facilities on the peninsula.

 
    http://english.pravda.ru/news/hotspots/07-03-2014/127063-russian_embassy_kiev-0/

No comments:

Post a Comment

birthday coming...

Blog Archive

Followers

follow..

เขา