Saturday, 26 October 2013

หลุมพรางของความเป็นธรรมDiscriminators always be...???





Community Development cover all database and all levels of personnel ..private sectors use for market promote too...CSR  do by yourself..and more than fifty percent of profit ...must back into community fund...for government sectors..community development fund and investment...yes or no???
ช่วงนี้ไม่รู้เป็นไร ความชื่นชมโสมนัสคลุกเคล้าไปความโทมนัสไปเป็นช่วงๆ อนิจจังสังขังสังขาร ได้แต่ปริวิตก ปลง ละ เลิก จนมองสังขารให้เสื่อมถอย แต่ก็ไม่ถอย เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่ค่อยอนิจจังเท่าไหร่ เพราะผุ้สูงอายุเขาให้มีอายุสักร้อยยี่สิบปี คนแก่จะล้นโลก และไม่ง้อลูกหลาน ไม่สนใจว่าต้องไปอยู่ด้วยให้เป็นภาระใคร ภาครัฐเอกชนมีหน้าที่จ่ายเข้ารัฐสวัสดิการ เพื่อคนในทุกวัย ต้องพัฒนาทั้งสิ้น  เพราะภาครัฐต้องมีกลไกเครื่องมือผ่องถ่ายรายได้จากช่องว่างมหาภัยของสังคมที่ถ่างกว้างให้มันแคบลงในเรื่องรายได้และสวัสดิการให้จงได้ เพื่อทุกผู้คนจะมีสวัสดิการและเงินออมและเงินลงทุนที่ตนบริหารจัดการเมื่อมีงานทำ นำเอามาจ้างธุรกิจบริการในรูปแบบใหม่นอกจากโรงพยาบาลและสถานดูแลผู้สูงวัยอายุ  โดยอายุสี่สิบห้าสิบต้องเกษียนตัวเอง พร้อมพักผ่อนในที่พักผู้สูงอายุ ที่ไม่ต้องไปแฝงตัวผูกพันกับลูกหลาน จนมีปัญหาบ้าบอในการบริหารจัดการงานครัวเรือน จนเกิดปัญหามรดกซับซ้อนซ่อนเงื่อนเหมือนบางตระกูล โดยต้องมีเงินขั้นต่ำไม่ต่ำกว่าห้าล้านสิบล้านบาทเป็นเงินจ้างสถานพยาบาลไปเรื่อยๆ ส่วนลูกหลาน ให้เขาดำเนินธุรกิจทำงานของเขาไป มีปันผลให้ผู้ถือหุ้นแก่ๆไว้ทำกิจกรรมสนุกสนานตามใจบ้างก็ดี ไม่ใช่ว่าไปบริหารจัดการงานการเงินของคนวัยทำงานจนเขาขาดสวัสดิการการพัฒนาคุณภาพชีวิตและภาพรวมของประเทศจนหมดสิ้น คนวัยทำงาน ไม่ต้องมามีภาระกับพ่อแม่ปู่ย่าผู้แก่เฒ่าเพราะ มีเงินทุนสะสมไปทำทุกอย่างเสริมสุขภาพกายใจให้อยู่ครบร้อยปีให้จงได้ อาชีพเกี่ยวกับดูแลสุขภาพจะขายดิบขายดี

อย่างไรเสียสิ่งที่เกิดในปัจจุบันมาจากหรืออันเนื่องจากมันเป็นวาทะกรรม หรือเจตนากรรม ก็ไม่รู้ การสร้างเงื่อนไขความเป็นธรรม ภายหลังการถูกก่นประนามว่าไม่เป็นธรรม มักมีให้เห็นอยู่ร่ำไป   เนื่องจากได้ผู้บริหารสั่งการไปแล้ว ดำเนินการไปแล้ว แก้ไขให้แลดูเป็นธรรมเหมาะสมยิ่งขึ้นกันภายหลัง ให้ดูเหมาะสมกับที่ได้ตัดสินใจไปแล้วนี่นา ใช้งานผู้คนให้เหมาะสมกับค่าแรงที่ใช้งาน เพราะนับประสาอะไร กับภาษีที่เก็บ เขายังเก็บทั้งภาษีที่เกิดจากรายได้ในประเทศและต่างประเทศเลย พวกที่ไปทำมาหากินในต่างประเทศ อ้างเรื่องงานบังหน้าแต่ซื้อทัวสไปเที่ยวล่วงหน้าแต่แรก เจตนาไปเที่ยวเนี่ยตัวดีนะ น่าจะโดนภาษีให้เข็ดทั้งกรุ๊ปทัวส์อำพรางนั่นเลยทีเดียวเจียว ต้นทุนต่อหัวในต่างประเทศตกขั้นต่ำวันละห้าร้อยเหรียญยูเอส  คิดค่าเครื่องบิน ค่าพาหนะ ค่าเครื่องแต่งตัว เสื้อผ้า  ค่าโรงแรมที่พัก ค่ากิน สารพัด ปีหนึ่งไปอยู่ต่างแดนเสียร้อยยี่สิบวันถึงสามร้อยวัน ทุกทุกปีเป็นอันใช้ได้ และขอผูกพันในตำแหน่งนี้ไปจนตายหรือเกษียน ไม่มีใครมาแทนที่ได้ ไม่สามารถฝึกได้ เพราะไม่ยอมฝึกใครเข้ามาแย่งรายได้จากภาษีประชาชนของประเทศไหนก็ไม่รู้เช่นนี้ทุกปี เป็นรางวัลอินเทนสีพ ที่สามารถ  นายก็พลอยพลัดตกหล่มไปด้วย จำเป็นต้องใช้งานเหล่ากลุ่มก้อนก๊กนี้ในงานนี้ไปจนตาย ห้ามหมุนเวียนเด็ดขาด เดี๋ยวหาคนมาทำแทนไม่ได้ เพราะไม่มีปัญญาหาเงินมาจ้างคนที่มีวุฒิตรงตามนี้ มาวางไว้เฉยๆ ไม่มีงานตรงสเปคให้ทำ อีกต้องจัดแจงหาทุนมนุษย์มนาประหลาดหายาก ไม่มีใครมากินเงินแบบนี้ นอกจากเปิดช่องให้กินเบี้ยเลี้ยงไปเมืองนอกที่เจริญแล้วปีละสามร้อยวันทุกปีอะไรแบบนี้ ยังต้องหาพวกไฮโปรไฟล์เอาไปเสนอหน้าตาให้ดูดีก็หายาก มันหนีแอบไปหมดไม่อยากเสนอหน้า ประชาชนคนจ่ายภาษีที่ได้ดั่งใจประเทศพัฒนาแล้วก็ต้องคนรุ่นใหม่ รู้สิทธิหน้าที่ของตนจริงๆ ไม่ได้รับจ้างมาแบบหาว่ามีแต่ความไม่รู้แบบโบราณ ขืนไม่มาตามสายการเมืองเศรษฐกิจ จักโดนหนัก โดนปล่อยเกาะ ไม่มีคนคบ ในหมู่บ้านห่างไกล ไม่มีสกายเทรนหรือสับเวย์นี่หว่า  ภาวะพวกพ้องคอรัปชั่นในระดับรากหญ้าและผู้มีอิทธิพลในระดับ นอกชายขอบเมืองวงใน นอกวงจรที่ไม่ยอมทำเป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะพิเศษเสียทีเพราะเขตปกครองพิเศษมันเชยไปเลย ไม่ทันตลาดทันเกมการค้าการเมือง ที่กวาดเอานายเงินนายทุนนายตลาดมาเป็นสเตคโฮลเตอรจนหมดสิ้น

หรือในต่างประเทศที่เขาว่าเจริญ มีค่าแรงชนชั้นกรรมาชีพและแรงงานมีฝีมือ ได้ค่าแรงถูกใจพรรคแรงงานของประเทศนั้นๆ ส่วนพวกด้านอนุรักษนิยมที่มีนักวิชาชีพมาก มีสถาบันทางวิชาชีพค้ำประกันรายได้ขั้นต่ำในการใช้งานค่าแรงเป็นวินาทีนาทีอะไรแบบนี้ เช่น ใช้สมองในเรื่องนี้ สองวินาที คิดค่าใช้สมองเท่านั้นเท่านี้ เพราะใช้สมองประมาณนี้ ทำให้ผู้ว่าจ้างได้ประโยชน์จากการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาให้ข้อคิดเห็นให้ คำปรึกษา เพียงไม่กี่นาทีไม่กี่ชั่วโมง สามารถใช้ความเป็นนักวิชาชีพพลิกชะตา แก้ไขปัญหา รักษาเยียวยา สารพัด หรือเปลี่ยนมูลค่าเงิน กองดิน อิฐปูน หรือทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างให้เป็นทรัพย์สิน ตึกราม ถนน หนทาง มีค่าสูงมหาศาลหรือได้ประโยชน์ตอบแทนท่วมท้นขึ้นมาบัดดล ซึ่งผู้ว่าจ้าง ที่มักมีเงินมีทรัพย์ได้รับการพัฒนาในแหล่งที่เขาว่าพัฒนาแล้ว  ยอมจ่ายแพงกับวิชาชีพพิสดารมากหลายประมาณนี้ เพราะว่ามันคุ้มค่า ทั้งทางสายวิทย์ และศิลปะ ที่ทำให้จิตใจแตะวัฒนธรรมและความสุขอิ่มใจระดับสูงสุดของตนได้ ซึ่งเราจะทำอย่างไรเล่า ให้การใช้สมองสร้างสิ่งอันเป็นต้นแบบที่ขายได้ ไปชั่วลูกหลานและมีอายุการใช้งานพอที่ลูกหลานจะใช้ประโยชน์ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่ใช่โดนระบบการบริหารหรือการปกครองเอาไปใช้งานตั้งแต่เพิ่งตั้งไข่ ฉวยเอาทางพับลิคโดเมนมั่งอะไรมั้ง ในวิถีทางการค้าทางการเมืองการลงทุนไปเสียหมดสิ้น ไม่ทันที่เจ้าของความคิดได้ราคาจากการที่คนอื่นเอาไปใช้ประโยชน์เลย เจ้าของความคิด ข้อคิดเห็น ที่ปรึกษา ไม่ใช้แจกฟรี สิ่งที่เอาไปเป็นแบบอย่างที่ดี แบบของฟรีไปหมดก็ไม่ดีกับคนริเริ่ม คิดเสียหน่อย ยกของเขาเสียแบบเลียนล้อครบทุกอย่าง ได้ประโยชน์มีค่าตอบแทนมหาศาล เป็นบางกลุ่มบางคน ไม่ใช่คนส่วนใหญ่ของรัฐปกครองนั้นๆ  บางองค์กรได้ประโยชน์ส่งผลในระบบเศรษฐกิจมหภาคด้วยซ้ำ ยังทำเฉยๆ เก็บประโยชน์เข้ากระเป๋า บางกลุ่มบางองค์กร

ทำไมประเทศที่พัฒนาพยายามขายทรัพย์สินทางปัญญา และสอนให้คนของประเทศภูมิใจในปัญญาของตนที่ขายทำธุรกิจทุกขนาดได้อย่างรวดเร็ว และได้รับการสนับสนุนผ่านองค์กรภาครัฐและเอกชนแบบฝังราก มีที่มาชัดเจนตอบได้ทุกคนแล้ววันนี้


เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องปรับโครงสร้างการบริหารและพัฒนาประเทศอย่างเร่งด่วนเพิ่อเป็นประเทสที่พัฒนาแล้วโดยเร็วที่สุด พอกันเสียทีกับช่องว่างที่แตกต่าง จนแต่พวกตัวเอง รวยแต่พวกตัวเอง พวกพ้องน้องพี่ของฉันต้องมาก่อนตามระบบอุปถัมป์ พลังของการพัฒนาจะถูกดองเค็ม

ไป   แก่  ที่ประเทศไหนดีหนอเนี่ย

Sugar aging day

http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=5201

http://www.redcross.or.th/news/information/29021

ชูธงสร้างคนคุณภาพเพื่อชุมชนน่าอยู่ LPN Academy โชว์ฟอร์มผู้นำคอนโดฯ ระดับแมส
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์12 สิงหาคม 2556 00:23 น.
       LPN มองการณ์ไกลจัดตั้ง “LPN Academy”เตรียมพร้อม 3 ภารกิจสำคัญ เร่งเดินหน้าพัฒนาศักยภาพบุคลากรรองรับธุรกิจขยายตัว ปั้นหลักสูตรบริหารชุมชนสร้างมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดีให้ชาวคอนโดฯ มุ่งหน้าถ่ายทอดวัฒนธรรมองค์กรตาม“วิถีแอลพีเอ็น” 
      
       การก่อเกิด “LPN Academy” ถือเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความแข็งแกร่งด้านบุคลากรอย่างยั่งยืนให้กับบริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ“แอลพีเอ็น” ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบคอนโดมิเนียนระดับแนวหน้าของเมืองไทย ที่มุ่งเจาะกลุ่มเป้าหมายระดับแมสเป็นหลัก ภายใต้แบรนด์ “ลุมพินี” เพราะการก่อร่าง “LPN Academy” ภายใต้หลักคิด“สร้างคนคุณภาพก่อนสร้างคอนโด” มีจุดประสงค์ 3 ประการสำคัญ
       หนึ่ง เพื่อพัฒนาคนให้เติบโตได้ทันต่อการขยายตัวของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการขยายโครงการอาคารชุดใหม่ๆ อีกมากในอนาคต ทั้งที่เป็นรูปแบบเดิมและแบบใหม่ เช่น โครงการลุมพินีคอนโดทาวน์ที่รังสิต-นครนายกจำนวน 10,000ห้อง ฯลฯ นอกจากนี้ การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซีในปี 2558 ทำให้เกิดโอกาสที่ชาวต่างชาติจะเข้ามาซื้อคอนโดฯ เพื่อพักอาศัยมากขึ้น รวมทั้ง การแข่งขันในธุรกิจที่สูงขึ้นและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในธุรกิจ จึงต้องเตรียมความพร้อมรับมือในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ให้กับบุคลากรของแอลพีเอ็นอย่างเป็นระบบและมีความเป็นมืออาชีพ
      
       สอง เพื่อถ่ายทอดคุณค่าและวัฒนธรรมองค์กรของแอลพีเอ็นได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง เนื่องจากแอลพีเอ็นมีการกำหนดวัฒนธรรมองค์กรอยู่ใน “วิถีแอลพีเอ็น” ซึ่งมีการถอดรหัสออกมาเป็น “ค่านิยม” ที่ใช้รหัสว่า “CLASSIC” โดยที่ผ่านมาสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก ดังนั้น “LPN Academy” จึงต้องทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในกระบวนการถ่ายทอดเรื่องเหล่านี้ให้คนในองค์กร ผ่านระดับผู้บริหารสู่ระดับปฏิบัติการ และจากพนักงานปัจจุบันสู่พนักงานใหม่ ให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถนำไปปฏิบัติและพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดจะถ่ายทอดสู่สังคมภายนอกผ่านมหาวิทยาลัยบรรษัท (Corporate University) ที่จะจัดตั้งขึ้นในอนาคต
       สาม เพื่อมุ่งเน้นพัฒนาหลักสูตรเฉพาะที่เป็นกลยุทธ์และจุดแข็งที่แตกต่างในการแข่งขันสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เช่น หลักสูตรการบริหารชุมชน สำหรับผู้จัดการชุมชน แม่บ้าน และพนักงานรักษาความปลอดภัย เพื่อสร้างมาตรฐานการทำงาน ซึ่งจะมีทั้งหลักคิด และวิธีการปฏิบัติ เช่น หลักสูตรผู้จัดการชุมชน มีการสอนไปแล้ว 9 รุ่นๆ ละ20-25คน ซึ่งคนที่เรียนจบและทำงานครบ 1 ปี จะสามารถรับตำแหน่งผู้จัดการชุมชน
      
       รวมถึง การพัฒนาความรู้ความสามารถให้เป็นอาชีพและสร้างรายได้เสริม เช่น การจัดดอกไม้ การเพ้นท์เล็บ เป็นต้น เพื่อให้พนักงานเห็นคุณค่าของตัวเองมากขึ้น ซึ่งจะทำให้การบริการที่สื่อไปถึงลูกค้าเป็นไปในทางบวก เพราะพนักงานในกลุ่มแม่บ้านส่วนมากมีความรู้น้อยและไม่มีโอกาสในการพัฒนาตนเอง ตลอดจน ยังมีการส่งเสริมให้ได้รับวุฒิการศึกษาอย่างต่ำในระดับมัธยม 6 ด้วยการสนับสนุนค่าเล่าเรียนและประสานงานกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน
       “LPN Academy เดินหน้าไปแล้ว ในเรื่องหลักสูตรตอนนี้เราโฟกัสที่หลักสูตรบริหารชุมชน พนักงานกลุ่มนี้ ทั้งรปภ.ซึ่งเป็นด่านแรกที่สัมผัสกับลูกค้า และแม่บ้านที่มีส่วนผลักดันให้เราเป็นผู้นำด้านอาคารชุดพักอาศัย และที่สำคัญอีกส่วนคือผู้บริหารอาคารชุดฯ ที่ต้องมีความเป็นมืออาชีพ เพราะทุกส่วนจะต้องเป็น Partner In Success ในการสร้างชุมชนน่าอยู่ เมื่อยกระดับการปฏิบัติงานทั้งหมดได้จะเท่ากับการให้คุณภาพการอยู่อาศัยที่ดีกับผู้พักอาศัย ซึ่งในอนาคต 3-5 ปีข้างหน้าอาจจะมีการพัฒนาเป็นหลักสูตรฝึกอบรมให้กับคนภายนอก แต่ที่สำคัญคือต้องมีมาตรฐานดีพอที่จะส่งต่อได้” มณเฑียร วิโรทัย ผู้อำนวยการ LPN Academy กล่าวถึง การสร้างคนของแอลพีเอ็น
       ปัจจุบันแอลพีเอ็นมีนิติบุคคลอาคารชุดที่อยู่ในความดูแลประมาณ 100แห่ง จำนวน 275 อาคาร และสมาชิกครอบครัวที่อาคารอยู่ในอาคารชุดลุมพินีประมาณ 80,000 ครอบครัว ซึ่งเมื่อรวมคนในชุมชนลุมพืนีแอลพีเอ็นมีอยู่ประมาณ 180,000 คนที่ต้องได้รับการดูแลหรือบริการ โดยมีพนักงานกว่า 2,000 คน ทำหน้าที่สร้างและรักษามาตรฐาน“ชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน” เพื่อให้เป็นจุดเด่นที่แตกต่างจากคู่แข่งและโครงการอื่นๆ “LPN Academy” จึงเป็นการจัดเตรียมสรรพกำลังเพื่อก้าวสู่ความท้าทายอย่างมีกลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติหรือเครื่องมือที่ชัดเจน 
“ไม้ใกล้ฝั่ง” แม้จะเป็นคำที่ฟังดูเสียดแทงใจผู้สูงวัย แต่ก็เป็นคำที่สะท้อนนัยของความชราภาพได้ในหลายมิติ แต่คงไม่ใช่ภาพของชีวิตบั้นปลาย ณ “สวางคนิเวศ” ดินแดนที่ดูเหมือนว่า “ไม้ใกล้ฝั่ง” จะได้กลับมามีไลฟ์สไตล์เยี่ยงคนหนุ่มสาวอีกครั้ง

6 โมงเช้าของทุกวัน “ณรงค์ ศรีวิเชียร” เดินออกจากคอนโดที่พัก ไปยังชายทะเลบางปู เดินออกกำลังกายรับลมทะเลบริเวณนั้น 45 นาที จึงกลับมาอาบน้ำ ทานอาหารเช้า ติดตามข่าวสารทางทีวี โดยเฉพาะข่าวธุรกิจ และข่าวหุ้น ขณะรอเวลาตลาดหุ้นเปิด เพื่อเทรดหุ้นตัวที่หมายปอง

นอกจากเอกสารเกี่ยวกับหุ้นตัวต่างๆ กล่องจดหมายของณรงค์เต็มไปด้วยโปรโมชั่นของบัตรเครดิตและโบรชัวร์แหล่งท่องเที่ยว เพราะหนึ่ง ในไลฟ์สไตล์ของณรงค์และภรรยา คือการชอปปิ้งและการท่องเที่ยว

ถ้าวันไหนไม่มีทริปท่องเที่ยว หรือไม่ใช่วันที่ต้องออกไปวางบิลเก็บ ค่าเช่าบ้านและคอนโดในกรุงเทพฯ หลังจากที่ณรงค์จัดการพอร์ตการเงิน เสร็จสรรพ และศรีภรรยาจัดการงานบ้านเสร็จสิ้น ในระหว่างวัน ทั้งคู่มักใช้เวลาหมดไปกับการพูดคุย วางแผนท่องเที่ยว และแผนทำบุญหรือทำประโยชน์เพื่อสังคม กับเพื่อนร่วมคอนโด ณ ศาลา “รวมใจ 555” ที่ผู้อยู่อาศัยที่นี่รวบรวมเงินกันสร้างขึ้นเอง

นอกจากกิจกรรมท่องเที่ยวที่เป็นความชื่นชอบของชาวคอนโดแห่งนี้ สมาชิกที่นี่ยังนิยมจัดปาร์ตี้คาราโอเกะ พร้อมเปิดฟลอร์เต้นรำในบทเพลง สุนทราภรณ์อย่างน้อยเดือนละครั้ง

ดูผิวเผิน ไลฟ์สไตล์ของณรงค์และมาลีอาจดูไม่ต่างจากวิถีชีวิตคนหนุ่มสาวทุกวันนี้ ที่นิยมอยู่คอนโด ชอบทำงานอิสระ รักการท่องเที่ยว กระหายการเข้าสังคม และปลีกตัวเป็นจิตอาสาบ้างในบางคราว สำหรับคนวัยใกล้ 70 ปี วิถีชีวิต เช่นนี้คงเป็นภาพที่สังคมไทยไม่คุ้นชิน แต่ถือเป็น ภาพคุ้นตาใน “สวางคนิเวศ” คอนโดผู้สูงอายุของสภากาชาดไทย

สวางคนิเวศเป็นโครงการที่สภากาชาด ไทยสร้างถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชน มายุ 40 พรรษา เป็นอาคารพักอาศัยสูง 8 ชั้น มีห้องพัก 168 ห้อง ตั้งอยู่บนพื้นที่ที่มีชื่อว่า “สวางคนิวาส” เนื้อที่กว่า 130 ไร่ ติดชายทะเลบางปู ซึ่ง “เจ้าสัว อื้อ จื่อ เหลียง” มอบให้สภากาชาดไทย เมื่อปี 2505

สวางคนิวาส ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิทสายเก่า ติดกับวัดอโศการาม ภายในประกอบด้วยสถานีกาชาด 5 และศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูโดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โซนกลางเป็นส่วนของที่พักอาศัย หรือ “สวางค-นิเวศ” ถัดไปเป็นสุสานท่าน อื้อ จื่อ เหลียง และครอบครัว และโรงเรียนเด็กเล็กในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ด้านในสุดติดชายทะเลบางปู

“โครงการสวางคนิเวศเกิดขึ้นกว่า 14 ปีมาแล้ว ด้วยวิสัยทัศน์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ที่ทรงเล็งเห็นว่าสังคมไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในอีกไม่กี่ปี ในฐานะองค์อุปนายิกาสภากาชาดไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ด้อยโอกาส เด็ก และผู้สูงอายุ จึงทรงมอบหมาย ให้คณะกรรมการฯ ไปศึกษาแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เพราะทรงเล็งเห็นว่าหากไม่ทำการศึกษาไว้ก่อน สังคมไทยอาจตั้งรับไม่ทัน” พญ.นาฏ ฟองสมุทร กรรมการบริหารสวางคนิเวศ เกริ่น

จาก “รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยปี 2552” ของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยระบุว่า ขนาดและสัดส่วนประชากรไทยอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2552 ถือเป็นปีที่สังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มขั้น เพราะสัดส่วนผู้สูงอายุไทยมีมากกว่า 10% ของประชากรทั้งหมด คาดการณ์ว่า ไม่เกิน 20 ปี สัดส่วนผู้สูงอายุไทยอาจสูงถึง 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมด

“สวางคนิเวศ” (สะ-วาง-คะ-นิ-เวด) เป็นนามพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มีความหมายว่า “สถานที่อยู่อาศัยที่มีความสุขเหมือนสวรรค์” วัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็น “ที่พักอาศัยคุณภาพ” สำหรับผู้สูงอายุ และเป็นโครงการ ที่พักอาศัยต้นแบบที่เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลง ของผู้สูงอายุ รวมถึงเป็น Research & Training Center ให้กับหน่วยงานของภาครัฐและเอกชนที่ต้องการมาศึกษาและทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องของผู้สูง อายุโดยเฉพาะ

ในการออกแบบคอนโดผู้สูงอายุ สภากาชาด ไทยได้ รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ หัวหน้าหน่วยวิจัยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุและผู้พิการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ออกแบบให้ โดยหัวใจสำคัญของ ที่พักผู้สูงวัย คือ การถ่ายเทอากาศ แสงธรรมชาติที่ทั่วถึง และความปลอดภัย

ภายในห้องพัก ปลั๊กไฟและสวิตช์ไฟจะอยู่สูงจากพื้น 90 ซม. เพื่อหลีกเลี่ยงการก้ม วัสดุทำพื้นต้องไม่ลื่น ไม่มีพื้นที่ต่างระดับ ไม่มีธรณีประตู เพื่อป้องกันการสะดุด ประตูเป็นบานเลื่อนกว้าง 90 ซม. เพื่อให้เข้า-ออกได้สะดวก ห้องน้ำปูด้วยกระเบื้องชนิดไม่ลื่น มีที่นั่งอาบน้ำ มีราวจับที่อ่างล้างหน้าและโถส้วม เพื่อช่วยในการทรงตัว ที่สำคัญคือ “ปุ่มฉุกเฉิน” ที่หัวเตียงและห้องน้ำไว้ใช้ขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินขณะอยู่ในห้อง

คล้ายคอนโดทั่วไปที่มีพื้นที่ส่วนกลางอย่างฟิตเนส ร้านสระผม บริการตู้ซักอบผ้า สนามหญ้า และศาลาริมน้ำ แต่ที่สวางคนิเวศยังมีพื้นที่เต้นรำ ห้องประชุม ห้องอาหารที่ควบคุมปริมาณน้ำมันและไร้ผงชูรส ห้องคอมพิวเตอร์ที่กำลังจะมี iPad ให้เล่นฟรี มีสัญญาณ wi-fi ให้บริการถึงห้องพัก มีเวทีสันทนาการ และอีกไม่นานก็จะมีห้องเต้นรำ และสระว่ายน้ำสำหรับผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น (มาพร้อมโครงการเฟส 2)

ยิ่งกว่านั้น ที่นี่ยังมีคลินิกนอกเวลากายภาพบำบัด ซึ่งจะมีนักกายภาพบำบัดจากโรงพยาบาลจุฬาฯ มาประจำทุกวัน ตั้งแต่ 15.00 น. และมีห้องพยาบาลที่มีพยาบาลสถานีกาชาด มาอยู่เวร ตั้งแต่ 16.00-19.00 น. ห้องสวดมนต์ และทางลาดจากชั้น 8 ลงมาถึงชั้นล่างไว้สำหรับรถเข็นและเตียงผู้ป่วย

นอกจากนั้น ในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่จะมีระบบส่งต่อผู้สูงอายุจากสวางคนิเวศ ไปยังหน่วยแพทย์ในเครือสภากาชาดไทย โดยมีกองทุนรักษาพยาบาลฉุกเฉินที่ผู้สูงอายุที่นี่จัดตั้งกันเอง เพื่อให้สมาชิกได้นำไปใช้เมื่อมีเหตุจำเป็นที่ต้องเข้าโรงพยาบาลเอกชน หลังจากหายป่วยจึงค่อยนำเงินกลับมาคืนกองทุน

ไม่เพียงห้องพักดีไซน์พิเศษและบริการทางการแพทย์ คุณหมอนาฏมองว่า อีกสิ่งที่มีความสำคัญสำหรับผู้สูงอายุ คือ กิจกรรม โดยเฉพาะการท่องเที่ยว โดยตลอด 10 กว่าปี สวางคนิเวศได้จัดทริปทั้งในประเทศและต่างประเทศให้สมาชิกไปแล้วกว่า 100 ทริป เฉลี่ยเดือนละครั้ง โดยทุกทริปจะมีเจ้าหน้าที่และพยาบาลไปด้วย

“การท่องเที่ยวเป็นวิถีชีวิตของผู้สูงอายุ สอดคล้องกับข้อมูลทางการแพทย์ที่ระบุว่า ผู้สูงอายุที่ขาดการกระตุ้นหรือขาดสิ่งเร้า สมองก็เสื่อม ร่างกายก็ทรุด ซึ่งเป็นปัญหาที่มักพบในผู้สูงอายุที่ถูกทิ้งให้อยู่บ้านคนเดียว แต่สำหรับผู้สูงอายุที่นี่ ไม่มีคำว่าเหงา เพราะมีทั้งเพื่อนร่วมวัย มีทั้งอาสาสมัคร และมีกิจกรรมตลอด”

ปัจจุบัน ชาวสวางคนิเวศมีอายุตั้งแต่ 55-90 ปีขึ้นไป เป็นเพศหญิงกว่า 70% ส่วนใหญ่เคยเป็นครูอาจารย์ และข้าราชการมาก่อน โดย 70% มีสถานภาพโสด 10% เป็นคู่ สามีภรรยาที่ไม่มีบุตร อีก 10% เป็นม่าย ส่วนที่เหลือมีบุตรแต่ต้องการชีวิตอิสระ ไม่อยาก เป็นภาระและวุ่นวายกับลูกหลาน

“เราไม่ได้ถูกลูกหลานทิ้ง แต่ทิ้งลูกหลานมาต่างหาก บางคนมีลูกๆ อยาก ให้กลับ แต่พ่อแม่ไม่ยอมกลับเพราะอยู่ที่นี่ สบาย ไม่ต้องกลับไปเป็นคนใช้ถาวรคอยเลี้ยงหลาน บางคนเคยต้องเสียเงินจ้างคน มาทำความสะอาดและอยู่เป็นเพื่อนเดือนละ 6,000 บาท พอขายบ้านมาอยู่ที่นี่ เสียค่าส่วนกลางแค่ 2,500 บาท ไม่ต้องจ้างใครมาเป็นเพื่อน เพราะมีพี่น้องวัยเดียวกันกว่า 100 คน” ในฐานะ “พ่อบ้าน” ณรงค์จึงรู้เรื่องราวของเพื่อนร่วมคอนโดเป็นอย่างดี

ในวัย 69 ปี และ 68 ปี ณรงค์และมาลีกลายเป็นคุณลุงคุณป้า บางครั้งก็เป็นคุณตาคุณยายของผู้ร่วมคอนโดที่อื่น แต่ที่สวางคนิเวศ ทั้งคู่กลาย “น้อง” เพราะ สมาชิกที่นี่อายุเฉลี่ย 72 ปี นานๆ ทีที่มีสมาชิกใหม่ ทั้งคู่จึงกลายเป็น “พี่”

ถึงจะเยาว์ด้วยวัยวุฒิ แต่ด้วยประสบการณ์พักอาศัยร่วม 7 ปี ทำให้ณรงค์ได้รับเลือกตั้งจากผู้อาศัยส่วนใหญ่ให้เป็น “ประธานกรรมการผู้สูงอายุอาคารสวางคนิเวศ” มีหน้าที่ประสานงานกับสภากาชาดไทย เพื่อปรับปรุงความเป็นอยู่ของสมาชิกที่นี่

ณรงค์เคยรับราชการอยู่ฝ่ายปกครอง ส่วนมาลีเป็นอดีตอาจารย์โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท เพราะไม่มีลูก ทั้งคู่ตัดสินใจย้ายออกจากบ้านขนาด 5 ห้องที่สร้างเผื่อมีลูก เนื่องจากเหนื่อยกับการทำความสะอาด บ้านหลังใหญ่ จากนั้นจึงย้ายไปอยู่คอนโดหรูกลางกรุงเทพฯ แต่กลับพบว่า ในเวลากลางวัน ทั้งชั้นเหลือเพียงผู้สูงอายุสองคน นอกจากความเงียบเหงา พวกเขาเกรงว่าหากเป็นอะไรไปจะไม่มีใครมาดูแล ทั้งคู่จึงมองหาที่อยู่ใหม่ที่ตอบโจทย์ชีวิตบั้นปลายได้ดีกว่า

“อ่านเจอว่ามีคอนโดผู้สูงอายุ แล้วพอดีหมอนาฏก็เป็นลูกศิษย์ก็เลยไว้ใจ คนแก่เวลาจะเลือกอะไรมันต้องอยู่ที่ความไว้ใจ เพราะเราคงไม่สามารถไปต่อสู้กับใครได้อีกแล้ว พอมาอยู่ที่นี่ เราก็รู้สึกปลอดภัยขึ้น เพราะมี รปภ. มีเจ้าหน้าที่ และมีพยาบาลคอยดูแล ตลอด 24 ชม. เราพยายามทำทุกอย่างให้เหมือนบ้าน เว้นก็แต่จำนวนห้องที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ที่เหลือเพียงห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องครัว และห้องน้ำ”

จากความสำเร็จของเฟสแรกทำให้มีผู้สูงวัยรอคิวเข้าพักกว่า 600 คน ณรงค์เชื่อว่า หลังจากตนได้ถวายรายงานนี้แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เมื่อครั้งที่พระองค์ท่านเสด็จเยี่ยมสวางคนิเวศเป็นการส่วนพระองค์ อานิสงส์ครั้งนั้นทำให้เกิด “สวางคนิเวศ เฟส 2” รวมถึงข่าวดีที่ว่าอาจจะมี 7-11 มาเปิดที่นี่เร็วๆ นี้

สวางคนิเวศ เฟส 2 ประกอบด้วยอาคาร 6 ชั้น 8 อาคาร แบ่งเป็นอาคาร 4 ห้องต่อชั้น และ 8 ห้องต่อชั้น ออกแบบให้เหมาะกับกลุ่มพี่น้องหรือกลุ่มเพื่อนฝูงที่จะได้พากันมาจองยกชั้น ราวกับได้ย้อนไปสมัยอยู่หอเดียวกันช่วงเรียนหรือเริ่มต้นทำงาน โดยในเฟส 2 มีทั้งหมด 300 ห้อง พื้นที่ใช้สอยราว 40-42 ตร.ม. ราคา 850,000 บาทขึ้นไป

สำหรับสภากาชาดไทย ผู้เข้าพักที่สวางคนิเวศจะได้ทำบุญใหญ่ถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกคือ “ค่าห้อง” ถือเป็นการบริจาคเงิน เพราะผู้อาศัยจะไม่ได้โฉนดและไม่มีสิทธิ์นำไปขายต่อ แต่จะได้รับสิทธิ์เข้าพักในโครงการไปตลอดชีวิต โดยจะพักกับสามี/ภรรยา หรือพี่น้องท้องเดียวกันก็ได้ หลังจากเสียชีวิต สิทธิ์ในห้องพักจะกลับเป็นของสภากาชาดไทยอีกครั้ง เพื่อนำไปจัดสรรให้กับคนอื่น ซึ่งถือเป็นการบริจาคครั้งสุดท้าย

“ผู้สูงอายุที่นี่จะอยู่กันแบบมีมรณานุสติ รู้ว่าได้มาอยู่ที่นี่ในช่วงท้ายของชีวิต รู้ว่าอย่าไปยึดติดว่าได้เป็นเจ้าของไหม รู้ว่าเมื่อจากไปก็ต้องละสิ่งที่เคยใช้ เพื่อเป็นประโยชน์กับคนอื่น ที่ผ่านมา มีผู้อาศัยเสียชีวิตไปแล้ว 20 กว่าคน”

ไม่เพียงมีเงินก้อน ผู้ที่มีสิทธิ์จะได้เข้าพักอาศัยที่นี่ยังต้องคุณสมบัติสำคัญคือ มีสัญชาติไทย และอายุ 55 ปีขึ้นไป โดยในวันแรกที่เข้าพัก ผู้นั้นต้องสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และสามารถจ่าย “ค่าดำรงชีพ” ตนเองได้ตลอดชีวิต อันได้แก่ ค่าส่วนกลาง 2,500 บาท/เดือน ค่าสาธารณูปโภคตามที่ใช้จริง ค่าใช้จ่ายส่วนตัว อาทิ ค่าอาหาร ค่าจ้างซักรีด บริการทางการแพทย์ ค่าใช้จ่ายในกิจกรรมบางประเภท เช่น ท่องเที่ยว ทำบุญ ฯลฯ

พ่อบ้านณรงค์แนะนำว่า ผู้ที่จะมาอยู่ที่นี่ควรมีรายได้ขั้นต่ำเดือนละ 15,000 บาท จึงจะสามารถใช้ชีวิตที่นี่โดย “มีอิสระ และพึ่งพาตัวเอง” อย่างแท้จริง

“ที่นี่เป็นคอนโดผู้สูงอายุที่ตอบโจทย์ผู้มีฐานะปานกลางขึ้นไป ไม่ใช่บ้านบางแค เพราะที่นี่ทุกคนสงเคราะห์ตัวเอง อยู่ได้ด้วยตัวเอง เราอยู่ได้โดยไม่มีปัญหา เพราะส่วนใหญ่ มีบำนาญ หรือเงินฝากธนาคาร คือพวกเราส่วนใหญ่วางแผนการใช้ชีวิตในบั้นปลายกันมาก่อนแล้ว”

หมอนาฏย้ำว่า ขณะที่สังคมไทยมีผู้สูงอายุกลุ่มหนึ่งที่จำเป็นต้องได้รับการสงเคราะห์ แต่ก็มีอีกกลุ่มที่ “แข็งแรง” พอที่จะทำให้โครงการอย่างสวางคนิเวศดำเนินได้เอง โดยกาชาดไทยเป็นเพียงผู้ช่วยบริหารจัดการให้เกิดโครงการที่จะช่วยส่งเสริมให้คนชรากลุ่มนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

ทั้งนี้ การก่อสร้างสวางคนิเวศ เฟส 2 จะแล้วเสร็จภายในปลายปีนี้และเริ่มเข้าอยู่ ได้ตั้งแต่ต้นปีหน้า โดยได้ LPN เป็นจิตอาสาเข้ามาช่วยดูแลการก่อสร้าง การตลาด และการขาย ให้กับเฟสนี้ โดยขณะนี้เหลือห้องว่างอีกไม่ถึง 80 ห้อง

ภายหลังที่ทั้ง 2 เฟส มีผู้อยู่อาศัยครบถ้วน คุณหมอนาฏเชื่อว่า จำนวนยูนิตที่มาก เกือบ 500 ห้อง ไม่เพียงจะทำให้การบริหารจัดการเกิดความคุ้มค่าตามหลัก “Economy of Scale” ยังเพิ่มอำนาจต่อรองกับส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุของที่นี่และของไทย เช่น “สถานีรถไฟฟ้าสวางคนิวาส” ที่ผู้สูงวัยกลุ่มนี้สามารถไปต่อรองจนได้ย้ายจุดสร้างสถานีจากบริเวณวิทยุการบินมาอยู่ที่นี่

“องค์ความรู้ทั้งหมดในสวางคนิเวศ เป็นสิ่งที่สภากาชาดไทยต้องการทำให้เห็นว่า ผู้สูงอายุไทยควรจะได้รับการบริการหรือดูแลอย่างไร เพื่อให้คนกลุ่มนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและไม่เป็นภาระแก่ลูกหลานหรือสังคม เรายินดีให้ภาครัฐและเอกชนมาเรียนรู้แล้วเอาไปพัฒนาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น เพื่อที่ผู้สูงอายุไทยจะได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น”

คำกล่าวทิ้งท้ายของกรรมการบริหารสวางคนิเวศ ดูจะสอดคล้องกับความคิดของชาวสวางคนิเวศ และดูจะเป็นความหวังของ “ไม้ใกล้ฝั่ง” หลายคนที่ตั้งตารอสินค้าบริการแบบนี้มาตลอดชีวิตช่วงบั้นปลาย   

http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=94629
http://www.sawangkanives.com/
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2555
สวางคนิเวศ “เฟรชชี่” อีกครั้งแม้วัยใกล้ฝั่ง       
โดย สุภัทธา สุขชู
- See more at: http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=94629#sthash.8Db9tnBg.dpuf
- See more at: http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=94629#sthash.8Db9tnBg.dpuf
http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9560000099730

http://www.sawangkanives.com/index.php?option=com_content&view=article&id=27:-360-&catid=2:gallery&Itemid=5

สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ
ผู้สนับสนุนได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารตลอดชีวิต พร้อมคู่สมรส (ถ้ามี) โดยต้องพักอาศัยอยู่ประจำ
ตรวจสุขภาพประจำปีฟรี โดยรถตรวจจาก รพ.จุฬา
กรณีสุขภาพเสื่อมถอยต้องเข้ารับการดูแลในสถานดูแลระยะยาว จะได้รับเงินคืน 40% ของเงินบริจาค หลังจากมี
ผู้สนับสนุนรายใหม่เข้ามาทดแทน
ไม่สามารถซื้อขายสิทธิ์ต่อให้ผู้อื่น
คุณสมบัติของผู้เข้าพักอาศัย
บุคคลสัญชาติไทย
ไม่จำกัดเพศ อายุ 55 ปี ขึ้นไป
มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ช่วยเหลือตัวเองได้ ในวันที่เข้าพักอาศัย
ยินดีปฏิบัติตามระเบียบและเงื่อนไขของโครงการที่พักผู้สูงอายุ อาคารสวางคนิเวศ
สามารถจ่ายค่าดำรงชีพตนเองได้ตลอดชีวิต

คุณสมบัติของผู้เข้าพักอาศัย
ค่าบำรุงรายเดือน 2,500/เดือน/ห้อง*
ค่าสาธารณูปโภคตามจำนวนหน่วยที่ใช้จริงในอัตราที่กำหนด
ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรมบางประเภท
ค่าใช้จ่ายส่วนตัว

h-service-v2

ทีมพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเริ่มบริการดูแลให้คำปรึกษาและบริการทางด้านสุขภาพ ตั้งแต่เวลา 16.00-07.00 น. 
ของวันรุ่งขึ้น ทุกวัน วันละ 1 คน
คลินิกนอกเวลากายภาพบำบัด ภายในอาคารฯ
ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุประจำปีฟรี
กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน มีระบบส่งต่อไปยังหน่วยแพทย์ในเครือสภากาชาดไทยทันที
นอกจากนี้ด้านหน้าโครงการยังมีสถานีกาชาด 5 และศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ดำเนินการโดย รพ. จุฬาลงกรณ์

Paragon Homes’ Shoreline captures the outdoors

 

Building a waterfront community

 
 
0
 
 
Paragon Homes’ Shoreline captures the outdoors
 

A rendering of Polygon Homes’ Shoreline development at the River District. Some 62 one- and two-bedroom homes will be available in the first phase of the project.

At Vancouver’s River District, planners, architects, designers and developers are setting the tone and the standards for a new community as they build it from the ground up.
The neighbourhood will stretch over 130 acres between Kerr and Boundary Road, enclosed by Marine Way on the north side and the Fraser River on the south.
The master plan calls for more than 7,000 homes to be built over the next two decades.
Among the newcomers is Polygon Homes’ Shoreline. Sixty-two one- and two-bedroom homes will be available in the first phase of the three-building project, with first-phase homes on one side overlooking the river.
In the display suite for these homes, Polygon Homes’ interior designer Celia Dawson captures the flavour of the dominant outdoors — a pretty waterfront community alive with cyclists, pedestrians and restaurant diners.
Indoors, the display suites mirror the outside, says Dawson, who describes her motif as contemporary but not cold; urban on the one hand, but with plenty of references to the outdoors.
The homes are spacious by Vancouver standards: one-bedroom apartments measure more than 700 square feet, and the largest two-bedroom units top out at more than 1,000 square feet.
The River District vibe is all about the water, cleanliness, light and activity, so Dawson responded in kind with her indoors mood: clean, uncluttered spaces all around, with white high-gloss cabinetry to “set a water-like reflection,” she says.
“The finishes for the home set a background that lends itself to the peaceful surroundings of the River District.”
In the bathroom, an earth-toned wall covering adds texture, and a floating underlit vanity, she says, offers “a sense of weightlessness, lightness that gives the bathroom a sense of grandeur.
“The grey tones are calming and the touch of golden yellows gives a touch of sunshine.”
The bedroom also shows that Dawson and her team paid close attention to the serenity of the waterfront.
A huge white headboard is set against a blue wall, and all bedding is custom-made.
A minimalist kitchen, absent of pulls or knobs, add to a streamlined look and a striated marble backsplash mimics the look of waves.
Dawson’s technique in the kitchen extends to the entire suite. She edited colours and patterns down to a bare minimum to bring in a softer, relaxing effect.
“While the eye is drawn to the pattern (of the backsplash), the neutral, soft white cabinets balance the backsplash nicely and do not compete or ‘make busy,’” she says.
Project: Shoreline
What: 166 homes in three four-storey buildings
Where: 8688 Kent Ave., Vancouver
Residence sizes and prices: 1-bedroom: 665 — 721 sq. ft. $299,900; 2-bedroom: 873 — 1,039 sq. ft., from $379,900
Developer: Polygon Shoreline Homes Ltd.
Sales centre: 8688 Kent Ave., Vancouver
Hours: noon – 6 p.m., Saturday - Thursday
Telephone: 604-871-4239
 
 
 
 







http://www.aspirationlaw.biz
http://www.theprovince.com/homes/Paragon+Homes+Shoreline+captures+outdoors/8377125/story.html


No comments:

Post a Comment

birthday coming...

Blog Archive

Followers

follow..

เขา